| |
คาถาสังคหะ   |  

(๑) สมฺมาสมฺพุทฺธมตุลํ    สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ
อภิวาทิย ภาสิสฺสํ    อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ ฯ

ข้าพระพุทธเจ้า [พระอนุรุทธาจารย์] ขอนอบน้อมถวายอภิวันทนาการแด่พระพุทธองค์ ผู้ตรัสรู้เญยยธรรมทั้งหลายเอง ไม่มีผู้เปรียบปาน พร้อมด้วยพระสัทธรรม และคณะพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้อุดมแล้ว จักแต่งคัมภีร์ที่มีนามว่า อภิธัมมัตถสังคหะ ต่อไป

(๒) ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา    จตุธา ปรมตฺถโต
จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ    นิพฺพานมิติ สพฺพถา ฯ

ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถธรรมแล้ว ไม่ว่าโดยประการใด ๆ ย่อมมีเนื้อความแห่งพระอภิธรรมอยู่เพียง ๔ ประการเท่านั้น คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน

(๓) กาเม เตวีส ปากานิ ปุญฺาปุญฺานิ วีสติ
เอกาทส กฺริยา เจติ จตุปญฺาส สพฺพถา ฯ

จิตที่ท่องเที่ยวเกิดอยู่ในกามภูมิ ๑๑ เป็นส่วนมากนี้ เมื่อรวบรวมทั้งหมดแล้ว มีจำนวน ๕๔ ดวง คือวิปากจิต ๒๓ กุศลจิตและอกุศลจิต รวม ๒๐ ดวง กิริยาจิต ๑๑ ดวง

(๔) อฎฺธา โลภมูลานิ โทสมูลานิ จ ทฺวิธา
โมหมูลานิ จ เทฺวติ ทฺวาทสากุสลา สิยุ ฯ

โลภมูลจิต มี ๘ ดวง โทสมูลจิต มี ๒ ดวง โมหมูลจิต ก็มี ๒ ดวง รวมจิต ๑๒ ดวงนี้ เป็นอกุศลจิต

(๕) สตฺตากุสลปากานิ ปุญฺปากานิ อฎฺธา
กฺริยาจิตฺตานิ ตีณีติ อฎฺารส อเหตุกา ฯ

อกุศลวิปากจิต มี ๗ ดวง อเหตุกกุศลวิปากจิต มี ๘ ดวง อเหตุกกิริยาจิต มี ๓ ดวง รวมจิต ๑๘ ดวงนี้ เป็นอเหตุกจิต.

(๖) ปาปาเหตุกมุตฺตานิ โสภณานีติ วุจฺจเร
เอกูนสฎฺ จิตฺตานิ อเถกนวุตีปิ วา ฯ

จิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง ที่นอกจากอกุศลจิตและอเหตุกจิตนั้น เรียกว่า โสภณจิต

(๗) เวทนาาณสงฺขาร- เภเทน จตุวีสติ
สาเหตุกามาวจร- ปุญฺาปากกฺริยา มตา ฯ

จิต ๒๔ ดวง เมื่อกล่าวโดยประเภทแห่งเวทนา ญาณ และสังขารแล้ว เรียกว่า สเหตุกกามาวจรกุศลจิต สเหตุกกามาวจรวิปากจิต สเหตุกกามาวจรกิริยาจิต

(๘) ปญฺจธา ฌานเภเทน รูปาวจรมานสํ
ปุญฺาปากกฺริยาเภทา ตํ ปญฺจทสธา ภเว ฯ

รูปาวจรจิต เมื่อว่าโดยประเภทแห่งฌานแล้ว มี ๕ ประการ เมื่อจำแนกโดยกุศล วิบาก กิริยา แล้ว มี ๑๕ ดวง

(๙) อาลมฺพณปฺปเภเทน จตุธารุปฺปมานสํ
ปุญฺปากกฺริยาเภทา ปน ทฺวาทสธา ตํ ฯ

อรูปาวจรจิต เมื่อว่าโดยประเภทแห่งอารมณ์แล้ว มี ๔ ประการ เมื่อจำแนกโดยกุศล วิบาก กิริยา แล้วมี ๑๒ ดวง

(๑๐) จตุมคฺคปฺปเภเทน จตุธา กุสลนฺตถา
ปากนฺตสฺส ผลตฺตาติ อฎฺธานุตฺตรํ มตํ ฯ

นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบว่า โลกุตตรจิตโดยย่อ มี ๘ ดวง คือ กุศลจิตว่าโดยประเภทแห่งมรรคจิต มี ๔ ดวง วิปากจิต ก็มี ๔ ดวง เพราะเป็นผลของมรรคจิตทั้ง ๔ ดวงนั้น

(๑๑) จตุปญฺาสธา กาเม รูเป ปณฺณรสีริเย
จิตฺตานิ ทฺวาทสารูเป อฎฺธานุตฺตเร ตถา ฯ

โลกุตตรจิต ๘ เมื่อแสดงโดยพิสดารแล้ว มีถึง ๔๐ ดวงนั้น เพราะเมื่อว่าโดยประเภทแห่งการประกอบขององค์ฌานแล้ว โลกุตตรจิตดวงหนึ่ง ๆ มี ๕ ฉะนั้น โลกุตตรจิต จึงมี ๔๐ ดวง

(๑๒) ฌานงฺคโยคเภเทน กเตฺวเกกนฺตุ ปญฺจธา
วุจฺจตานุตฺตรํ จิตฺตํ จตฺตาฬีสวิธนฺติ จ ฯ

นับจำนวนจิต ๘๙ โดยประเภทแห่งชาติแล้ว มีดังนี้ อกุศลจิต มี ๑๒ ดวง กุศลจิต มี ๒๑ ดวง วิปากจิต มี ๓๖ ดวง และกิริยาจิต มี ๒๐ ดวง

(๑๓) ทฺวาทสากุสลาเนวํ กุสลาเนกวีสติ
ฉตฺตึเสว วิปากานิ กฺริยาจิตฺตานิ วีสติ ฯ

นักศึกษาทั้งหลาย พึงนับจำนวนจิต ๘๙ โดยประเภทแห่งภูมิทั้ง ๔ ดังนี้ จิตที่สงเคราะห์เข้าในกามาวจรภูมิ มี ๕๔ ดวง จิตที่สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ มี ๑๕ ดวง จิตที่สงเคราะห์เข้าในอรูปาวจรภูมิมี ๑๒ ดวงจิตที่สงเคราะห์เข้าในโลกุตตรภูมิ มี ๘ ดวง

(๑๔) ยถา จ รูปาวจรํ คยฺหตานุตฺตรํ ตถา
ปมาทิชฺฌานเภเท อารุปฺปปญฺจาปิ ปญฺจเม ฯ

รูปาวจรจิต นับสงเคราะห์เข้าในฌานทั้ง ๕ ประเภท มีปฐมฌาน เป็นต้นได้ ฉันใด โลกุตตรจิต ก็นับสงเคราะห์ในฌานทั้ง ๕ มีปฐมฌาน เป็นต้นได้ฉันนั้น ส่วนอรูปาวจรจิต ๑๒ ดวงนั้น นับสงเคราะห์เข้าในปัญจมฌานทั้งหมด

(๑๕) เอกาทสวิธํ ตสฺมา ปมาทิกมีริตํ
ฌานเมเกกมนฺเตตุ เตวีสติวิธํ ภเว ฯ

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ฌานจิตอันหนึ่ง ๆ มีปฐมฌาน เป็นต้นมี ๑๑ ดวง ส่วนปัญจมฌานจิตนั้น มี ๒๓ ดวง

(๑๖) อิตฺถเมกูนนวุติปฺ - ปเภทํ ปน มานสํ
เอกวีสสตํ วาถ วิภชนฺติ วิจกฺขณา ฯ

จิตทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว มีการนับเป็น ๒ ประเภท คือ นับจิตโดยย่อ มี ๘๙ ดวงประเภทหนึ่ง นับจิตโดยพิสดาร มี ๑๒๑ ดวง ประเภทหนึ่ง

(๑๗) สตฺตตึสวิธํ ปุญฺ ทฺวิปญฺาสวิธนฺตถา
ปากมิจฺจาหุ จิตฺตานิ เอกวีสสตมฺพุธาติ ฯ

กุศลจิต ๓๗ และวิปากจิต ๕๒ ดวงนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นการกล่าวถึงจิตโดยพิสดาร

จบคาถาสังคหะและคำแปล

อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |