| |
องค์แห่งพระโยคาวจรเปรียบด้วยน้ำ ๕ ประการ   |  

ในมิลินทปัญหา ท่าน [พระนาคเสนเถระ] ได้แสดงการเปรียบเทียบองค์คือคุณสมบัติของพระโยคาวจรบุคคลด้วยคุณสมบัติของน้ำ ๕ ประการรุ.๘๓ คือ

๑. น้ำย่อมนิ่ง ไม่กระเพื่อม ไม่ขุ่นมัว ใสสะอาดเป็นปกติ โดยตัวของมันเอง ฉันใด พระโยคาวจรก็พึงปลดเปลื้องการพูดโกหกสับปลับ พูดเลียบเคียง มุ่งหาลาภ แล้วทำตนให้เป็นผู้มีความประพฤติบริสุทธิ์เป็นปกติ ฉันนั้น

๒. น้ำย่อมมีความเยือกเย็นเป็นที่ตั้งเสมอ ฉันใด พระโยคาวจรก็พึงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเมตตา ขันติ โสรัจจะ อวิหิงสา มีปกติแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล และอนุเคราะห์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น

๓. น้ำย่อมชำระสิ่งสกปรกให้สะอาดได้ ฉันใด พระโยคาวจรไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ไหน ๆ ก็พึงทำกิจที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนทุกชั้น ในที่นั้น ฉันนั้น

๔. น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับบุคคลและสัตว์เป็นอันมาก ฉันใด พระโยคาวจรก็พึงเป็นผู้มักน้อย สันโดษ หลีกเร้นอยู่ในที่อันเงียบสงัด ปฏิบัติตนให้เป็นที่เคารพเทิดทูนของสัตว์โลก ทุกถ้วนหน้าเนืองนิตย์ ฉันนั้น

๕. น้ำย่อมไม่นำสิ่งที่ไม่เกื้อกูลเข้าไปให้ใคร ๆ คือ ให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ต้องการดื่มทุกคน ฉันใด พระโยคาวจรก็พึงเป็นผู้ไม่ก่อการอื้อฉาว ทะเลาะวิวาท แก่งแย่ง เพ่งโทษ และความไม่ยินดีในธรรม ให้เกิดขึ้น ไม่ทำความชั่วด้วยกาย วาจา และใจ ฉันนั้น


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |