| |
การเจริญสติปัฏฐานพิจารณาร่างกายมี ๖ บรรพ   |  

การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยการพิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ เป็นการเจริญวิปัสสนาเพื่อให้เห็นร่างกายซึ่งเป็นรูปธรรมนั้น โดยความเป็นไตรลักษณ์ เพื่อให้สัมมสนญาณเกิดขึ้น มี ๖ บรรพรุ.๔๗ คือ

๑. อานาปานบรรพ การพิจารณาโดยกำหนดลมหายใจเข้า-ออก

๒. อิริยาปถบรรพ การพิจารณาโดยกำหนดอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน

๓. สัมปชัญญบรรพ การพิจารณาโดยกำหนดรู้ตัวในการเคลื่อนไหว เช่น การเดินหน้า ถอยกลับ คู้แขน เหยียดแขน กิน ดื่ม เป็นต้น

๔. ปฏิกูลมนสิการบรรพ การพิจารณาโดยกำหนดความน่าเกลียดของร่างกาย แบ่งออกเป็นส่วนย่อย มี ผม ขน เล็บ เป็นต้น

๕. ธาตุบรรพ การพิจารณาร่างกายโดยความเป็นสักแต่ว่าธาตุเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต เป็นแต่สภาวะล้วน ๆ

๖. นวสีวถิกาบรรพ การพิจารณาร่างกายที่เป็นซากศพ มีลักษณะต่าง ๆ ๙ อย่าง


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |