| |
สาราณียธรรม ๖ ประการ   |  

สาราณียธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกนึกถึงด้วยไมตรีจิต ด้วยเมตตาธรรมที่มีต่อกัน ๖ ประการ คือ

๑. เมตตากายกรรม เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในมิตรสหายทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยเหลือขวนขวายในกิจธุระของมิตรสหายด้วยกายกรรม ที่พอจะช่วยเหลือเกื้อกูลได้

๒. เมตตาวจีกรรม เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในมิตรสหายทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยเหลือขวนขวายในกิจธุระของมิตรสหายด้วยวาจา เช่น ช่วยติดต่อประสานงาน ช่วยว่ากล่าวตักเตือนมิตรสหายผู้ตกอยู่ในความประมาท ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง เป็นต้น

๓. เมตตามโนกรรม เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในมิตรสหายทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ คิดแต่สิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อมิตรสหาย ไม่คิดไปในทางลบ

๔. สาธารณโภคี แบ่งปันวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่ตนได้มาโดยชอบธรรมให้มิตรสหาย โดยไม่หวงไว้บริโภคใช้สอยคนเดียว หรือไม่หวงไว้เป็นผลประโยชน์เฉพาะตนฝ่ายเดียว

๕. สีลสามัญญตา ปรับความประพฤติและวิถีทางการดำเนินชีวิตของกันและกัน ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ไม่ประพฤติผิดแผกแหวกแนวจากคนอื่น ไปในทางที่ไม่ดี

๖. ทิฏฐิสามัญญตา ปรับความคิดความเห็นของกันและกันให้เป็นไปโดยถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ไม่คิดออกนอกลู่นอกทางแห่งกฎระเบียบของกฎหมาย วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของสังคม


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |