| |
การเจริญกรุณาในเวรีบุคคล   |  

เมื่อพระโยคาวจรบุคคล จะน้อมจิตเข้าไปในบุคคลผู้มีเวรกัน ปฏิฆะ คือ ความแค้นเคือง ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ พระโยคีบุคคลนั้น ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

๑. เธอต้องหมั่นเข้ากรุณา คือ แผ่ความสงสารบ่อย ๆ ในบุคคลต้น คือ ตนเอง ทุคตบุคคล มัชฌัตตบุคคล ปิยบุคคล คนใดคนหนึ่ง เพื่อปรับสภาพของกรุณาจิตให้เชื่อมติดกัน ครั้นแล้ว จึงแผ่กรุณาไปยังบุคคลผู้มีเวรนั้นบ่อย ๆ พยายามบรรเทาความแค้นเคืองต่าง ๆ เสีย

๒. ถ้าไม่ระงับ พึงนึกถึงพระพุทธโอวาท มี กกจูปโมวาท เป็นต้น

๓. ถ้าไม่ระงับ พึงนึกถึงความดีของบุคคลนั้น

๔. ถ้าไม่ระงับ พึงนึกถึงกัมมัสสกตา ความที่สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของ ๆ ตน

๕. ถ้าไม่ระงับ พึงนึกถึงจารีตประเพณีความประพฤติไม่ขาดสายแห่งพระศาสดา

๖. ถ้าไม่ระงับ พึงนึกถึงสังสารวัฏฏ์ที่ยาวนาน ไม่มีสิ้นสุด

๗. ถ้าไม่ระงับ พึงนึกถึงอานิสงส์ของกรุณา ๑๑ ประการ [เหมือนของเมตตา]

๘. ถ้าไม่ระงับ พึงนึกทำการแยกให้เห็นเป็นแต่เพียงธาตุเท่านั้น

๙. ถ้ายังไม่ระงับ พึงทำการเผื่อแผ่ แบ่งปันสิ่งของให้แก่เวรีบุคคลนั้น


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |