| |
ลำดับแห่งการเกิดขึ้นของวิปัสสนาญาณ ๕ ประการ   |  

๑. อุปปัตติกมะ พิจารณาตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงการจำความได้ว่า มีสุข มีทุกข์ ทำบุญ ทำบาป มีวิชา มีความฉลาดเกิดขึ้นได้อย่างไร

๒. ปหานกมะ พิจารณาถึงการละว่าตั้งแต่จำความได้มาจนถึงปัจจุบันนั้นตนเองละทุจริตได้อย่างไรบ้างและภาวนาอย่างไรบ้าง

๓. ปฏิปัตติกมะ พิจารณาถึงข้อปฏิบัติว่าตั้งแต่เยาว์มาจนถึงบัดนี้ ตนเองได้ทำความดีอย่างไรบ้าง

๔. ภูมิกมะ พิจารณาวิปัสสนาภูมิ ๖ คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาทองค์ ๑๒ และอริยสัจ ๔ ให้เห็นเป็นแต่เพียงรูปกับนามเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา แล้วน้อมพิจารณาโดยความเป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และอนัตตา เป็นสภาวธรรมที่ไม่ใช่สัตว์บุคคล ไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามอำนาจของใครได้

๕. เทสนากมะ ศึกษาในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ให้รู้และเข้าใจเหตุผลของหัวข้อธรรมแต่ละอย่าง


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |