| |
ลักษณะของผู้ที่ไม่ควรหยั่งลงสู่ทางแห่งกุศลธรรม ๑๒ ประการ   |  

๑. กัมมาวรโณ เป็นผู้มีอกุศลกรรมขวางกั้น เช่น ทำอกุศลกรรมหนัก

๒. กิเลสาวรโณ เป็นผู้มีกิเลสขวางกั้น คือ ถูกกิเลสรุมเร้ามากเกินไป

๓. วิปากาวรโณ เป็นผู้มีวิบากของอกุศลกรรมขวางกั้นไว้

๔. อสัทโธ เป็นผู้ไม่มีความศรัทธาในสิ่งที่ควรเชื่อ

๕. อัจฉันทิโก เป็นผู้ไม่มีฉันทะในกุศลธรรม

๖. ทุปปัญโญ เป็นผู้มีปัญญาทราม

๗. นะ ธัมมวินยัง สุสสูสติ ไม่ตั้งใจฟังพระธรรมวินัยที่ผู้อื่นแสดง

๘. นะ โสตัง โอทหติ ไม่เงี่ยโสตลงฟัง

๙. นะ อัญญาจิตตัง อุปัฏฐเปติ ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึงธรรม

๑๐. อะนัตถัง คัณหาติ ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

๑๑. อัตถัง รัญจติ สละทิ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์เสีย

๑๒. อนนุโลมิกายะ ขันติยา สมันนาคโต ประกอบด้วยความชอบใจที่ไม่สมควร


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |