| |
เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดโทสมูลจิต ๓ ประการ   |  

โทสมูลจิตนี้ ก็เป็นสภาพสังขตธรรม คือ ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้นและให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์แห่งไตรลักษณ์ เมื่อมีเหตุปัจจัยเหล่านี้ประชุมกันครบบริบูรณ์ โทสมูลจิตนี้จึงเกิดขึ้นได้ ถ้าขาดเหตุปัจจัยนั้นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง โทสมูลจิตนี้ ก็เกิดขึ้นไม่ได้เช่นเดียวกัน เหตุปัจจัยที่ทำให้โทสมูลจิตเกิดขึ้นนั้น มี ๓ ประการ กล่าวคือ

๑. เวทนา มีอย่างเดียว คือ โทมนัสเวทนา เรียกว่า โทมนัสสสหคตัง แปลว่า เกิดพร้อมด้วยความเสียใจ จึงชื่อว่าโทมนัสสสหคตจิต

๒. สัมปโยคะ มีอย่างเดียว คือ ปฏิฆสัมปยุตต์ เรียกว่า ปะฏิฆสัมปยุตตัง แปลว่า ประกอบด้วยความโกรธ [ประทุษร้ายอารมณ์] จึงชื่อว่า ปฏิฆสัมปยุตตจิต

๓. สังขาร มี ๒ อย่าง คือ

๑] อสังขาร เรียกว่า อสังขาริกัง แปลว่า จิตที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการกระตุ้นเตือนหรือชักชวน แต่เกิดขึ้นเองด้วยอำนาจเหตุปัจจัยที่มีกำลังมาก หรือมีความถนัดเจนจัดและชำนาญในอารมณ์นั้นเป็นอย่างดี จึงชื่อว่า อสังขาริกจิต

๒] สสังขาร เรียกว่า สสังขาริกัง แปลว่า จิตที่เกิดขึ้นโดยมีการกระตุ้นเตือนหรือชักชวน เพราะเหตุปัจจัยนั้นมีกำลังน้อย จึงชื่อว่า สสังขาริกจิต

เพราะฉะนั้น โทสมูลจิตนี้ จึงมีความต่างกันตรงที่สังขาร คือ เป็น อสังขาริก ดวงหนึ่ง เป็น สสังขาริก ดวงหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้โทสมูลจิตมี ๒ ดวง คือ





เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |